วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

นาซีเยอรมนี

นาซีเยอรมนี (อังกฤษ: Nazi Germany) หรือ จักรวรรดิไรช์ที่สาม (อังกฤษ: The Third Reich) เป็นชื่อเรียกสามัญของประเทศเยอรมนี ในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1933-1945 ซึ่งมีการปกครองระบอบชาติสังคมนิยมภายใต้ผู้เผด็จการอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ และพรรคชาติสังคมนิยมกรรมกรแห่งชาติเยอรมัน นาซีเยอรมนีตั้งอยู่บนทวีปยุโรปมีเมืองหลวง คือ กรุงเบอร์ลิน ชื่ออย่างเป็นทางการของประเทศ คือ จักรวรรดิเยอรมัน (เยอรมัน: Deutsches Reich) และ มหาจักรวรรดิเยอรมัน (เยอรมัน:Großdeutsches Reich) นับตั้งแต่ ค.ศ. 1943 เป็นต้นมา
ความพ่ายแพ้ของเยอรมนีภายหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและอีกหลายปัจจัย ส่งผลให้ฮิตเลอร์ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งมุขมนตรีแห่งเยอรมนี ในปี ค.ศ. 1933 ซึ่งดำเนินนโยบายฟื้นฟูเกียรติภูมิของชาติ จนถือได้ว่านาซีเยอรมนีเป็นชาติมหาอำนาจของโลกแห่งหนึ่งด้วยเช่นกัน นาซียังได้มีแนวคิดต่อต้านชาวยิวอย่างหนัก นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1934 เป็นต้นมา ส่วนนโยบายด้านการต่างประเทศของนาซีเยอรมนีอยู่บนพื้นฐานแนวคิด เลเบนสเราม์ (เยอรมัน: Lebensraum) อันเป็นนโยบายก้าวร้าวซึ่งถือได้ว่านำเยอรมนีเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่สอง
หลังจากสงครามโลกครั้งที่สองได้เริ่มต้นขึ้น กองทัพเยอรมันสามารถรบชนะประเทศเพื่อนบ้านในทวีปยุโรปและแอฟริกาเหนือได้เกือบทั้งหมด ซึ่งส่งผลให้พื้นที่และจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นอย่างมาก รวมทั้งมีการสังหารชาวยิวและกลุ่มชาติพันธุ์อื่นในดินแดนยึดครองเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนาม "การล้างชาติโดยนาซี" ทว่าแม้จะดำเนินนโยบายเป็นพันธมิตรกับมหาอำนาจชาติอื่น คือ อิตาลีและญี่ปุ่น ก็ตาม แต่กองทัพอักษะพ่ายแพ้ให้แก่กองทัพผสมสัมพันธมิตร ในปี ค.ศ. 1945 ทำให้รัฐนาซีเยอรมนีถึงคราวสิ้นสภาพในที่สุด และถูกยึดครองโดยมหาอำนาจฝ่ายสัมพันธมิตร; ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร

การสังหารหมู่วันเซนต์บาโทโลมิว

                การสังหารหมู่วันเซนต์บาโทโลมิว (ภาษาฝรั่งเศส: Massacre de la Saint Barthélemy; ภาษาอังกฤษ: St. Bartholomew’s Day massacre) เป็นระลอกของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในระหว่างสงครามศาสนาของฝรั่งเศสโดยฝูงชนชาวฝรั่งเศสผู้นับถือนิกายโรมันคาทอลิกไล่สังหารชาวฝรั่งเศสที่เรียกตัวเองว่าอูเกอโนท์ (Huguenots) หรือผู้ที่นับถือนิกายโปรเตสแตนต์ (โปรเตสแตนต์คาลวินิสต์) เชื่อกันว่ามีต้นตอมาจากพระราชินีนาถแคทเธอรีน เดอ เมดิชิ พระมารดาของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศส การสังหารหมู่ใช้เวลาทั้งสิ้น 6 วันหลังวันแต่งงานระหว่างมาร์เกอรีต เดอ วาลัวส์ (Marguerite de Valois) พระขนิษฐาของ พระเจ้าชาร์ลที่ 9 กับอองรีแห่งนาวาร์ผู้ที่นับถือนิกายโปรเตสแตนต์ งานแต่งงานเป็นโอกาสที่อูเกอโนท์ผู้ร่ำรวยมีฐานะดีจะออกมาร่วมงานฉลองในเมืองปารีสที่ผู้คนส่วนใหญ่นับถือนิกายโรมันคาทอลิก เหตุเกิดขึ้นสองวันหลังจากที่การลอบสังหารนายพลกาสปาร์ด เดอ โคลิญญี นายทหารของอูเกอโนท์ไม่ประสพความสำเร็จ เริ่มเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 1572 ซึ่งเป็นวันสมโภชของนักบุญบาร์โทโลมิว การสังหารหมู่ก็เริ่มทั่วไปในกรุงปารีสและขยายไปทั่วฝรั่งเศสเป็นเวลาหลายเดือน จำนวนผู้เสียชีวิตไม่เป็นที่ทราบแน่นอนแต่สันนิษฐานกันว่าอูเกอโนท์ตายไปประมาณหมื่นคนหรืออาจจะถึงแสนคน เหตุการณ์นี้ถึงจะไม่ใช่เหตุการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นแต่เป็นเหตุการณ์ที่รุนแรงที่เกิดขึ้น  สงครามเป็นเหตุการณ์สำคัญที่มีบทบาทในสงครามศาสนาของฝรั่งเศส ขบวนการโปรเตสแตนต์อ่อนแอลงมากเพราะการสูญเสียผู้นำหลายคนและผู้ที่รอดมาได้ก็มีหัวรุนแรงขึ้น
 อ้างอิงhttp://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%8C%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B9%82%E0%B8%97%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%A7

สงครามร้อยปี

สงครามร้อยปี (อังกฤษ: Hundred Years' War) เป็นความขัดแย้งระหว่างสองราชตระกูลที่เกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1337 ถึงปี ค.ศ. 1453 เพื่อชิงราชบัลลังก์ฝรั่งเศสที่ว่างลงเมื่อผู้สืบเชื้อสายของราชวงศ์กาเปเตียงสิ้นสุดลง ราชวงศ์สองราชวงศ์ที่พยายามชิงราชบัลลังก์คือราชวงศ์วาลัวส์ และราชวงศ์แพลนทาเจเน็ท หรือที่รู้จักกันว่าราชวงศ์อองชู ราชวงศ์วาลัวส์อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ฝรั่งเศสขณะที่ราชวงศ์แพลนทาเจเน็ทอ้างสิทธิในราชบัลลังก์ฝรั่งเศสและอังกฤษ ราชวงศ์แพลนทาเจเน็ทเป็นราชวงศ์ที่ปกครองราชอาณาจักรอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 12 และมีรากฐานจากบริเวณอองชู และนอร์มังดีในฝรั่งเศส ทหารฝรั่งเศสเป็นผู้ร่วมการต่อสู้ของทั้งสองฝ่าย โดยมีเบอร์กันดี และอากีแตนสนับสนุนฝ่ายแพลนทาเจเน็ท
ความขัดแย้งยืดยาวเป็นเวลาถึง 116 ปีแต่ก็มีช่วงที่มีความสงบเป็นระยะๆ ก่อนที่จะจบลงด้วยการกำจัดราชวงศ์แพลนทาเจเน็ทออกจากฝรั่งเศส (นอกจากในบริเวณคาเลส์) ฝ่ายราชวงศ์วาลัวส์จึงเป็นฝ่ายที่ได้รับชัยชนะในการกำจัดราชวงศ์แพลนทาเจเน็ทออกจากฝรั่งเศสในคริสต์ทศวรรษ 1450
อันที่จริงแล้วสงครามร้อยปีเป็นสงครามที่เกิดขึ้นเป็นช่วงๆ ที่มักจะแบ่งเป็นสามหรือสี่ช่วง: สงครามพระเจ้าเอ็ดเวิร์ด (ค.ศ. 1337–ค.ศ. 13), สงครามพระเจ้าชาร์ลส์ (1369–1389), สงครามพระเจ้าเฮนรี (ค.ศ. 1415–ค.ศ. 1429) และหลังจากการมีบทบาทของโจนออฟอาร์ค (ค.ศ. 1412–ค.ศ. 1431) ความได้เปรียบของฝ่ายอังกฤษก็ลดถอยลง นอกจากนั้นสงครามร้อยปีก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความขัดแย้งอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกันทั้งในฝรั่งเศสและอังกฤษที่รวมทั้งสงครามสืบราชบัลลังก์บริตานีสงครามสืบราชบัลลังก์คาสตีล และสงครามสองปีเตอร์ คำว่า สงครามร้อยปีเป็นคำที่นักประวัติศาสตร์ในสมัยต่อมาคิดขึ้นเพื่อบรรยายถึงเหตุการณ์ที่ว่านี้
สงครามมีความสำคํญทางประวัติศาสตร์หลายประการ แม้ว่าจะเป็นสงครามของความขัดแย้งกันหลายด้านแต่ก็เป็นสงครามที่ที่ทำให้ทั้งฝ่ายอังกฤษเริ่มมีความรู้สึกถึงความเป็นชาตินิยม ทางด้านการทหารก็มีการนำอาวุธและยุทธวิธีใหม่ๆ มาใช้ที่ทำให้ระบบศักดินาที่ใช้การต่อสู้บนหลังม้าเป็นหลักเริ่มหมดความสำคัญลง ในด้านระบบการทหารก็มีการริเริ่มการใช้ทหารประจำการที่เลิกใช้กันไปตั้งแต่การล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตก ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงบทบาทของเกษตรกร ความเปลี่ยนแปลงต่างๆ เหล่านี้ทำให้เห็นว่าเป็นเหตุการณ์ที่สำคัญที่สุดเหตุการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์การสงครามของยุคกลาง ในฝรั่งเศสการรุกรานของฝ่ายอังกฤษ, สงครามกลางเมือง, การระบาดของเชื้อโรค, ความอดอยาก และการเที่ยวปล้นสดมของทหารรับจ้างและโจรทำให้ประชากรลดจำนวนลงไปถึงสองในสามในช่วงเวลานี้ เมื่อต้องออกจากแผ่นดินใหญ่ยุโรปอังกฤษก็กลายเป็นชาติเกาะที่มีผลต่อนโยบายและปรัชญาของอังกฤษต่อมาถึง 500 ปี

สงครามครูเสดครั้งที่ 3 หรือ สงครามครูเสดกษัตริย์

หลังจากความล้มเหลวของสงครามครูเสดครั้งที่ ราชวงศ์เซนกิด (Zengid dynasty) ก็เข้าครอบครองซีเรียและสร้างความขัดแย้งกับฟาติมียะห์ผู้ปกครองอียิปต์ที่เป็นผลที่ทำให้อียิปต์และซีเรียรวมตัวกันภายใต้การนำของศอลาฮุดดีนผู้ใช้อำนาจในการลดอำนาจของรัฐคริสเตียนและยึดเยรูซาเลมในปี ค.ศ. 1187 ด้วยความมุ่งมั่นในความเป็นคริสเตียนที่ดีสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 2 แห่งอังกฤษ และ พระเจ้าฟิลิปที่ 2แห่งฝรั่งเศสก็ทรงยุติความบาดหมางกัน เพื่อจะร่วมกันนำสงครามครูเสดครั้งใหม่ (แม้ว่าการเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 2 ในปี ค.ศ. 1189 จะต้องทำให้ผู้นำฝ่ายอังกฤษต้องเปลี่ยนไปเป็นสมเด็จพระเจ้าริชาร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษแทนที่) สมเด็จพระจักรพรรดิฟรีดริชที่ 1 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ผู้มีพระชนมายุสูงแล้วก็ทรงรวบรวมกำลังพลและนำกองทัพอันใหญ่โตเดินทางไปยังอานาโตเลียแต่ไปทรงจมน้ำตายเสียก่อนที่จะถึงดินแดนศักดิ์สิทธิ์ทหารเป็นจำนวนมากที่หมดกำลังใจก็พากันเดินทางกลับ
หลังจากที่ได้รับชัยชนะหลายครั้งฝ่ายคริสเตียนก็ทะเลาะกันเรื่องทรัพย์สินที่ได้จากสงคราม เลโอโปลด์ที่ 5 ดยุคแห่งออสเตรีย (Leopold V, Duke of Austria) และพระเจ้าฟิลิปหมดความอดทนกับพระเจ้าริชาร์ดก็เดินทางต่อไปยังดินแดนศักดิ์สิทธิ์ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1191 เมื่อวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1192พระเจ้าริชาร์ดและศอลาฮุดดีนก็ตกลงในสนธิสัญญาที่มีผลทำให้เยรูซาเลมอยู่ภายใต้การครอบครองของมุสลิมแต่นักแสวงบุญคริสเตียนผู้ไม่ถืออาวุธสามารถเดินทางเข้าไปในเมืองเพื่อทำการสักการะได้ พระเจ้าริชาร์ดเสด็จออกจากดินแดนศักดิ์สิทธิ์เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม ความล้มเหลวในการยึดเยรูซาเลมคืนนำมาซึ่งสงครามครูเสดครั้งที่ หกปีต่อมา
อ้างอิง http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%94%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A1

สงครามเจ็ดปี

สงครามเจ็ดปี หรือที่เรียกในภาษาเยอรมันว่า สงครามไซลีเซียครั้งที่ 3 (อังกฤษSeven Years' War หรือ Third Silesian War) ที่เกิดขึ้นระหว่างปีค.ศ. 1756 จนถึงปี ค.ศ. 1763 โดยเกี่ยวข้องกับทุกประเทศมหาอำนาจในยุโรป สงครามเจ็ดปีเป็นสงครามระหว่างปรัสเซียและบริเตนใหญ่และกลุ่มนครรัฐเล็กในเยอรมนีที่ต่อต้านฝ่ายพันธมิตรที่ประกอบด้วยออสเตรียฝรั่งเศสรัสเซียสวีเดน และแซกโซนีโดยรัสเซียเปลี่ยนข้างอยู่ระยะหนึ่งในช่วงปลายของสงคราม
ต่อมาโปรตุเกส (ฝ่ายบริเตนใหญ่) และสเปน(ฝ่ายฝรั่งเศส) ถูกดึงเข้าร่วมในสงคราม และเนเธอร์แลนด์ที่เป็นกลางก็เข้าร่วมเมื่อถูกโจมตีในอินเดีย เพราะความกว้างขวางของสงครามที่กระจายไปทั่วโลกทำให้สงครามเจ็ดปีได้รับการบรรยายว่าเป็น สงครามโลกครั้งแรกที่มีผลให้ผู้คนเสียชีวิตไปประมาณ 900,000 ถึง 1,400,000 คน ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความสมดุลทางอำนาจต่อผู้เข้าร่วมหลายประเทศ
สงครามเจ็ดปีเริ่มขึ้นเมื่อสมเด็จพระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียทรงเข้ารุกรานแซกโซนี การต่อสู้ระหว่างบริเตน, ฝรั่งเศสและพันธมิตรของทั้งสองฝ่ายในทวีปอเมริกาเหนือเริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1754 สองปีก่อนที่สงครามโดยทั่วไปจะเกิดขึ้น การต่อสู้ในอเมริกาเหนือบางครั้งก็ถือว่าเป็นสงครามอีกสงครามหนึ่งที่เรียกว่าสงครามฝรั่งเศส-อเมริกันอินเดียน (French and Indian War)
แม้ว่าทวีปยุโรปจะเป็นสมรภูมิหลักของสงครามโดยทั่วไปแต่ผลของสงครามก็มิได้ทำให้สถานการณ์เปลี่ยนไปมากจากก่อนสงครามเท่าใดนัก กลับกลายเป็นว่าผลกระทบกระเทือนในเอเชียและอเมริกามีมากกว่าและส่งผลที่ยาวนานกว่า สงครามยุติความเป็นมหาอำนาจการครองครองอาณานิคมของฝรั่งเศสในทวีปอเมริกา ที่เสียดินแดนเกือบทั้งหมดในทวีปอเมริกาเหนือและหมู่เกาะเวสต์อินดีสบางส่วน ปรัสเซียยังคงเป็นมหาอำนาจและยังคงครอบครองบริเวณไซลีเซียที่เดิมเป็นของออสเตรีย บริเตนใหญ่กลายเป็นมหาอำนาจในการเป็นเจ้าของอาณานิคมในทวีปอเมริกาเหนือ และเป็นผู้มีอำนาจมากกว่าผู้ใดในการครอบครองอาณานิคม
อ้างอิง http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%87%E0%B8%94%E0%B8%9B%E0%B8%B5

ปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution)

ปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution) คือการเปลี่ยนแปลงทางการผลิต
จาก       แรงงานคน,แรงงานสัตว์    >    การใช้เครื่องจักร
   ครัวเรือน                       >     โรงงาน
เพื่อ    เพิ่มผลผลิตและการส่งผลผลิตไปขายยังตลาดภายในและภายนอกประเทศ ไม่ใช่        เป็นการผลิตเพียงเพื่อนำมาใช้บริโภคภายในครอบครัว หรือเพื่อจำหน่ายภายในตลาดท้องถิ่นดั่งในอดีต
                การปฏิวัติอุตสาหกรรมเกิดขึ้นครั้งแรงที่ประเทศอังกฤษในปี ค.. 1760-1830 แล้วจึงขยายตัวออกไปยัง ยุโรป สหรัฐอเมริกา และทวีปเอเชีย
สาเหตุโดยทั่วไปที่ก่อให้เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรม
1.        เป็นผลสืบเนื่องมาจากยุคของการสำรวจทางทะเล (Age Of Discovery) ของชาวยุโรปในศตวรรษที่ 15-16 ก่อให้เกิดผลตามมาคือ
1.1                 เกิดการจัดตั่งอาณานิคมเพื่อหาวัตถุดิบและเป็นตลาดในการระบายสินค้า
1.2                 เพื่อการค้าจะได้ขยายตัวออกไปให้กว้าง
2.        การขยายตัวทางการค้าก่อให้เกิดการขยายตัวทางการผลิต ทำให้มีการผลิตสินค้าออกมาเป็นจำนวนมาก
3.        เมื่อมีสินค้าออกมาเป็นจำนวนมาก ผนวกกับการต้องการสินค้าที่มากขึ้น จึงทำให้เกิดการสนับสนุนในการคิดค้นเครื่องมือและเครื่องจักร เพื่อเสริมการผลิตสินค้าให้มีปริมาณและคุณภาพมากยิ่งขึ้น
4.        ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ใน ศตวรรษที่ 16-17 เป็นปัจจัยสนับสนุนให้เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรม เช่น
-          เครื่องมือทางการเกษตร เช่น เจโธร์ ทัลล์ ชาวอังกฤษ ประดิษฐ์เครื่องหว่านเมล็ดพืชในปี ค..1701
-          เครื่องปั่นด้าย เช่น เจมส์ ฮาร์กีฟส์ ชาวอังกฤษ ประดิษฐ์เครื่องปั่นด้ายในปี ค..1767
-          เครื่องจักรไอน้ำ เช่น เจมส์ วัตต์ ชาวสก๊อต พัฒนาเครื่องจักรไอน้ำจนสามารถใช้กับงานอุตสาหกรรมอื่น ๆ ได้หลาหลาย ในปี ค..1767
-          การคมนาคม เช่น ยอร์ช สตีเฟนสัน ชาวอังกฤษได้ประดิษฐ์หัวรถจักรไอน้ำชื่อ Rocket ปี ค.. 1829
สาเหตุที่ทำให้อังกฤษเป็นประเทศแรกที่ทำการปฏิวัติอุตสาหกรรม
1.        มีความสงบทางการเมืองหลังจากการปฏิวัติอันรุ่งเรืองในปี ค..1688 ในขณะที่ชาติอื่นในยุโรปมีปัญหาการทำสงครามการปฏิวัติฝรั่งเศส ..1789 และสงครามนโปเลียน
2.        มีความมั่งคั่งทางด้านเงินลงทุนและทางการเมือง มีการจัดตั้งธนาคารแห่งชาติ ในปี ค..1694
3.        มีการพัฒนาทางการเกษตร มีการล้อมรั้วที่ดิน ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรเพิ่มขึ้น
4.        มีวัตถุดิบ โดยเฉพาะถ่านหินจำนวนมาก
5.        การเพิ่มจำนวนประชากรที่รวดเร็วของอังกฤษส่งผลดีต่อการปฏวัติอุสาหกรรมในด้านแรงงาน
6.        มีการนำเอาระบบเสรีทางการค้ามาใช้  อังกฤษจะไม่เข้าไปแทรกแซงธุรกิจของเอกชน ซึ่งเป็นผลมาจากอิทธิพลทางความคิดของอดัม สมิท นักเศรษฐศาสตร์ชาวสก๊อต 
7.        มีการพัฒนา คิดค้นทางด้านเทคโนโลยีและเครื่องจักร และอังกฤษยังปิดเทคโนโลยีใหม่ที่ค้นพบเป็นความลับ
ผลของการปฏิวัติอุตสาหกรรม
                การปฏิวัติอุตสาหกรรมก่อให้เกิดผลดีและผลเสียควบคู่กับไป สรุปได้ดังนี้
1.        เกิดชนชั้นใหม่ 2 ชนชั้น คือ ชนชั้นนายทุนและชนชั้นกรรมกร นายทุนมักเอารัดเอาเปรียบชนชั้นกรรมกร อาทิ
                        -      เกิดปัญหาเรื่องอัตราค้าจ้างที่ต่ำไม่สมดุลกับชั่วโมงการทำงานที่มากเกินไป
-           เกิดปัญหาการใช้แรงงานเด็กและสตรีเพื่อลดต้นทุน
-           เกิดปัญหาทางด้านสุขอนามัยในโรงงาน
2.        เกิดความเจริญก้าวหน้าทางคมนาคมขนส่งทั้งทางบกและทางเรือ มีการสร้าง รถจักรไอน้ำ ทางรถไฟ ถนน เรือกลไฟมากมาย
3.        เกิดความเจริญก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจ การขยายตัวอุตสาหกรรมและการค้า
4.        เกิดการเพิ่มประชากรจำนวนประชากรอย่างรวดเร็ว
-          เกิดปัญหาการอพยพเข้าไปในเมืองใหญ่ ขาดแคลนที่อยู่อาศัย
-          เกิดปัญหาการขาดแคลนอาหาร
-          เกิดปัญหาการว่างงาน
5.        เกิดการแสวงหาอาณานิคมของชาวยุโรปไปในดินแดนทั่วโลก เพื่อหาวัตถุดิบและแป็นตลาดระบายสินค้า
6.        เกิดลัทธิเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม (Socialism) และคอมมูนิสต์เพื่อต่อต้านการแสวงหาผลประโยชน์ของนายทุนอุตสาหกรรม

การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance)



การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance) หมายถึงการเกิดใหม่ หรือการรื้อฟื้นศิลปะจากกรีกและโรมันไปพร้อม ๆ กับการพัฒนาทางความคิด คิดค้นและประดิษฐ์สิ่งใหม่ ๆ เริ่มตั่งแต่ ศตวรรษที่ 14 - 17 ถือเป็นการเชื่อมต่อประวัติศาสตร์ยุคกลางและยุคใหม่ อิตาลีถือเป็นประเทศแรกของการฟื้นฟูศิลปวิทยาการ และได้กระจายไปยังในประเทศอื่น ๆ ในยุโรป
การฟื้นฟูศิลปวิทยาการแบ่งได้เป็น 4 ยุคคือ
ระยะที่ 1 ระยะคลาสสิก ย้อนกลับไปศึกษาเรื่องราวและผลงานของโรม
ระยะที่ 2 ระยะมนุษยนิยม ย้อนกลับไปศึกษาเรื่องราวและผลงานของกรีกและเอเธน
ระยะที่ 3 ระยะศาสนา การย้อนกลับไปสู่ยุคเยรูซาเล็ม
ระยะที่ 4 การฟื้นฟูศิลปวิทยาการทางเหนือ เป็นลักษณะพิเศษแบบเยอรมนี

ที่มาของการฟื้นฟูศิลปวิทยาการ
1.      การสิ้นสุดสงครามครูเสด การเสื่อมของระบบฟิวดัล และการล่มสลายของอาณาจักรบิเซนทีน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในยุโรป
2.      มีความก้าวหน้าทางวิทยาการ การคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ
3.      มีการพัฒนาทางด้านการเดินเรือ นำไปสู่การค้นพบดินแดนใหม่
4.      การพัฒนาทางด้านอาวุธ ทำให้กษัตริย์มีอำนาจมากขึ้น เป็นกำลังสำคัญในการส่งเสริมศิลปวิทยาการ
5.      คนมีความกระตือรือร้นทางด้านความคิดเกี่ยวกับสังคมและธรรมชาติ ความรู้ที่ได้เป็นประโยชน์อำนวยความสุขของมนุษย์
6.      ชนชั้นกลางที่ร่ำรวยเรียนแบบชีวิตของชนชั้นสูง จึงอุปถัมภ์ศิลปิน เพื่อเป็นเกียรติยศและศักดิ์ศรีของตนเอง

สาเหตุที่อิตาลีเป็นผู้นำในการฟื้นฟูศิลปวิทยาการ
1.      เป็นทายาทโดยตรงของอารยะธรรมโรมัน ต้องการฟื้นฟูอารยะธรรมของตน เพื่อลบล้างอารยะธรรมเยอรมนี
2.      พระสันตะปาปาและศาสนจักรที่โรมต้องการฟื้นฟูอำนาจทางโลกและทางธรรม
3.      มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจและมีภูมิศาสตร์ที่มีความเหมาะสม พ่อค้าที่รำรวยนิยมสนับสนุนผลงานของศิลปิน
4.      ชาวอิตาลีมีลักษณะเป็นนักมนุษยนิยม (Humanism) และปัจเจกนิยม (Individualism) เน้นคุณค่าของมนุษย์ ชอบอุดหนุนศิลปิน

บุคคลสำคัญในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ
นักคิด : นิโคโล มาเคียวเวลลี่ ผลงานสำคัญคือ The Prince “การทำให้บรรลุจุดมุ่งหมายโดยวิธีใดวิธีหนึ่งโดยไม่คำนึงถึงศีลธรรม” ซึ่งได้กลายเป็นคู่มือของนักปกครองในยุโรปสมัยต่อมา
นักสำรวจ : คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส เดินทางไปสู้อินเดียเพื่อพิสูจน์ว่าโลกกลม ในปี ค.ศ.1492 เขาพบอเมริกา แต่คิดว่าเป็นอินเดียจึงเรียกชื่อชาวพื้นเมืองว่า “อินเดียน” การเดินทางสำรวจในครั้งนี้ ทำให้ชาวยุโรปตื่นตัวในการเดินทางค้นหาดินแดนใหม่
นักประดิษฐ์ : จอห์น กูเตนเบร์ก ชาวเยอรมนี ประดิษฐ์แท่นพิมพ์แบบเคลื่อนที่ได้ในปี ค.ศ. 1450 ผลสืบเนื่องคือ
-  เกิดการผลิตหนังสือและเอกสาร ทำให้ประชาชนได้เรียนรู้และคิดค้นทางวิชาการมากมาย
-  ช่วยให้รัฐเผยแพร่ข่าวสารข้อมูลไปสู่ประชาชนได้อย่างรวดเร็ว
-  มีการพิมพ์คำภีร์ไบเบิลในภาษาต่าง ๆ ประชาชนเกิดความรู้คำสอนศาสนาได้ด้วยตนเอง จนก่อให้เกิดกาปฏิรูปศาสนาในเยอรมนี
จิตกร : เลโอนาโด ดาวินชี เป็นผู้ที่ มีความสามารถรอบตัว ผลงานสำคัญได้แก่
-  The Last Supper ภาพงานเลี้ยงอาหารมื้อสุดท้ายของพระเยซูและเหล่าสาวก 12 คน ประดับอยู่ที่มหาวิหารเซนต้ามาเรีย
-  Mona Lisa ภาพหญิงสาวที่มีความเสมือนจริง จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ลูฟฟ์
ปฏิมากร : โดนัทเทลโล ผลงานที่สำคัญคือ Ersmo De Narini ที่เมืองปาดัง แสดงสัดส่วนของคนและม้าได้อย่างชัดเจน